Update นิยามใหม่ ของคำว่า “สินทรัพย์” : ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่บังคับใช้ปี 2564

[Update นิยามใหม่ ของคำว่า “สินทรัพย์” : ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่บังคับใช้ปี 2564]

ในช่วงที่ผ่านมา IASB ได้ปรับปรุง Conceptual Framework หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน โดยล่าสุดได้ปรับปรุงเป็น Version The 2018 Conceptual Framework
.

หนึ่งในประเด็นหลักของการปรับปรุงในครั้งนี้ คือ การ Update นิยามของคำว่าสินทรัพย์ (Assets)
.

โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมดังนี้
.

กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558) ซึ่งอ้างอิงมาจาก The 2010 Conceptual Framework ระบุว่า
.

“สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต”
.

ในขณะที่ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งอ้างอิงมาจาก The 2018 Conceptual Framework ระบุว่า
.

“สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กิจการควบคุมซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต”
.

โดย “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีความเป็นไปได้เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ”
.

นิยามของคำว่าสินทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน 2 ประเด็นคือ
.

✅ 1. ตัดคำว่า “คาดว่าจะได้รับ” (are expected to flow to the entity) : โดยใช้คำว่า “มีความเป็นไปได้เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ” (has the potential to produce economic benefits) แทน เนื่องจากคำว่า Expected อาจทำให้เกิดการตีความว่า Transaction จะต้องมีความเป็นไปได้ “ถึง Threshold” ระดับหนึ่งหรือไม่ จึงจะเข้านิยามของคำว่าสินทรัพย์ ซึ่ง IASB มองว่า การพิจารณา “ระดับ” ความเป็นไปได้ ควรไปพิจารณาใน Step การรับรู้รายการ (Recognition) มากกว่าในส่วนของคำนิยาม (Definition) ซึ่งกรอบแนวคิดให้ข้อสังเกตว่า ความน่าจะเป็นต่ำ (Low probability) อาจกระทบต่อการตัดสินใจว่าจะสามารถรับรู้ (Recognise) สินทรัพย์ได้หรือไม่
.

✅ 2. แยกคำอธิบาย คำว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ” (Economic Resource) เป็นส่วนของการขยายความ … ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิยามหลักของคำว่าสินทรัพย์ โดยได้ขยายความว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีความเป็นไปได้เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ” การแยกการอธิบายนิยามของคำว่าทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจนั้น ก็เพื่อจะ Focus ว่า สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ ไม่ใช่ Inflow ของทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ หรืออีกนัยหนึ่งคือ สิ่งที่กิจการ Control คือ สิทธิในปัจจุบัน ไม่ใช่ Future economic benefits
.

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นอื่นๆ เช่น การใช้คำว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ” (Economic Resource) แทนคำว่า “ทรัพยากร” (Resource) เพื่อเน้นย้ำว่าสินทรัพย์ไม่ได้หมายถึงวัตถุที่มีลักษณะทางกายภาพ (Physical Object) แต่หมายถึง สิทธิเหนือวัตถุที่มีลักษณะทางกายภาพ (Rights over a physical Object) เป็นต้น
.

ทั้งนี้ “สินทรัพย์” ตามนิยามใหม่ ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก จึงจะถือเป็นสินทรัพย์ได้ คือ
.

✅ 1. สิทธิ (Rights) ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่เกิดภาระผูกพันกับอีกฝ่าย (เช่น สิทธิรับเงิน หรือ สิทธิรับสินค้าหรือบริการ) หรือจะเป็นสิทธิที่ไม่เกิดจากภาระผูกพันของกิจการอีกแห่ง (เช่น สิทธิเหนือวัตถุทางกายภาพ เช่น สิทธิเหนือ PPE)
.

✅ 2. ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบัน (Present economic resource) ซึ่งก็คือ สิทธิที่มีความเป็นไปได้ (Potential) เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เช่น การได้รับกระแสเงินสดตามสัญญา แต่ตามนิยามนี้ ไม่ได้หมายความว่าสิทธิดังกล่าวจะต้อง “มีความแน่นอน (Certain) หรือเป็นไปได้ (Likely)” ว่าจะผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้
.

✅ 3. ควบคุม (Control) หมายถึง กิจการมีความสามารถในปัจจุบันที่จะสั่งการใช้ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจและได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้น รวมถึง ความสามารถในปัจจุบันที่จะกีดกันไม่ให้ฝ่ายอื่นสั่งการใช้ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจและได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ฝ่ายนั้น นิยามดังกล่าวถือเป็นการนิยามคำว่า “ควบคุม” ครั้งแรกในกรอบแนวคิดฯ โดยอาศัยหลักการพื้นฐานจากนิยามของคำว่า “ควบคุม” จาก IFRS 15 (ซึ่งเป็นมุมมองของการควบคุมสินทรัพย์) และ IFRS 10 (ซึ่งเป็นมุมมองของการควบคุมกิจการ) ทั้งนี้กรอบแนวคิดฯ ให้ข้อสังเกตว่า การควบคุมไม่ได้หมายความว่า กิจการจะมั่นใจว่าทรัพยากรจะผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ทุกสถานการณ์ เพียงแต่หากทรัพยากรผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้ว บุคคลที่จะได้รับประโยชน์ดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็คือกิจการนั่นเอง
.

สำหรับนิยามของคำว่าหนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น รอติดตามในตอนถัดๆ ไปครับ

กันยายน 28, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ