Update นิยามใหม่ ของคำว่า “หนี้สิน” : ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่บังคับใช้ปี 2564

[Update นิยามใหม่ ของคำว่า “หนี้สิน” : ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่บังคับใช้ปี 2564]

ตอนที่แล้วเราพูดถึงเรื่องนิยามของคำว่า “สินทรัพย์” ที่เปลี่ยนไป สำหรับตอนนี้เรามาดูนิยามใหม่ของคำว่า “หนี้สิน” กันครับ
.

ในช่วงที่ผ่านมา IASB ได้ปรับปรุง Conceptual Framework หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน โดยล่าสุดได้ปรับปรุงเป็น Version The 2018 Conceptual Framework
.

หนึ่งในประเด็นหลักของการปรับปรุงในครั้งนี้ คือ การ Update นิยามของคำว่าหนี้สิน (Liabilities)
.

โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมดังนี้
.

กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558) ซึ่งอ้างอิงมาจาก The 2010 Conceptual Framework ระบุว่า
.

“หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตโดยการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ”
.

ในขณะที่ร่างกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งอ้างอิงมาจาก The 2018 Conceptual Framework ระบุว่า
.

“หนี้สิน คือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการให้โอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต”

โดย
ภาระผูกพันเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบที่กิจการไม่มีความสามารถทางปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยง

ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีความเป็นไปได้เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
.

นิยามของคำว่าหนี้สินมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน 2 ประเด็นคือ
.

✅ 1. ตัดคำว่า “คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสีย” (is expected to result in an outflow from the entity) : โดยใช้ Concept ใหม่ว่า “มีความเป็นไปได้ที่กิจการต้องให้โอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ” (has the potential to require a transfer of an economic resource) เนื่องจากคำว่า Expected อาจทำให้เกิดการตีความว่า Transaction จะต้องมีความเป็นไปได้ “ถึง Threshold” ระดับหนึ่งหรือไม่จึงจะเข้านิยามของคำว่าหนี้สิน ซึ่ง IASB มองว่า การพิจารณา “ระดับ” ความเป็นไปได้ ควรไปพิจารณาใน Step การรับรู้รายการ (Recognition) มากกว่าในส่วนของคำนิยาม (Definition)
.

✅ 2. แยกคำอธิบาย คำว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ” (Economic Resource) ที่กิจการต้องโอน เป็นส่วนของการขยายความ … ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิยามหลักของคำว่าหนี้สิน โดยได้ขยายความว่า “ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีความเป็นไปได้เพื่อการผลิตประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ” การแยกการอธิบายนิยามของคำว่าทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจนั้น ก็เพื่อจะ Focus ว่า หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่จะต้องโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ ไม่ใช่ Outflow ของทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ
.

ทั้งนี้ “หนี้สิน” ตามนิยามใหม่ ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก จึงจะถือเป็นหนี้สินได้ คือ
.

✅ 1. เป็นภาระผูกพัน (Obligation) ซึ่งภาระผูกพันเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบที่กิจการไม่มีความสามารถทางปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยง (No practical ability to avoid)
.

คำว่า No practical ability to avoid ถือเป็นศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นในกรอบแนวคิดฯ Version นี้ เพื่ออธิบายขยายความคำว่า “ภาระผูกพัน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
.

นอกเหนือจากภาระผูกพันที่เกิดจากสัญญาหรือกฎหมายแล้ว
.

กรอบแนวคิดฯ ได้ยกตัวอย่างสถานการณ์อื่นอีก 2 กรณี ที่กิจการ No practical ability to avoid จึงทำให้เข้านิยามของคำว่าภาระผูกพัน ได้แก่

📍 เกิดจากประเพณีปฏิบัติ (Customary practices) นโยบายที่เผยแพร่ (Published policies) หรือข้อความที่ระบุ (Specific statements) ของกิจการ ในกรณีที่กิจการไม่มีความสามารถในทางปฏิบัติให้กระทำในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ นโยบายหรือข้อความนั้น … จริงๆ แล้วประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ …. หากยังจำศัพท์ที่ได้เคยเล่าเรียนกันมาได้ … สิ่งเหล่านี้ก็คือ ภาระผูกพันจากการอนุมาน (Constructive obligation) นั่นเอง
.

📍 กรณีที่หน้าที่หรือความรับผิดชอบโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการขึ้นอยู่กับการกระทำในอนาคตบางอย่างที่กิจการอาจดำเนินการการกระทำดังกล่าว อาจรวมถึงการดำเนินงานธุรกิจหนึ่งหรือดำเนินงานในตลาดแห่งหนึ่งในวันหนึ่งที่ระบุในอนาคต หรือใช้สิทธิบางอย่างตามสัญญา แต่กิจการไม่มีความสามารทางปฏับัติที่จะหลีกเลี่ยง
.

ทั้งนี้ในการพิจารณา Practical ability to avoid นั้น กรอบแนวคิดฯ ได้ระบุว่าขึ้นอยู่กับ ลักษณะหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกิจการด้วย เช่น แม้ว่าในทางหลักการกิจการจะสามารถเลือกที่จะไม่โอน Economic Resource ได้ แต่หากกิจการไม่ยอมโอน Economic Resource อาจทำให้กิจการต้องเสียประโยชน์มากกว่าการโอน Economic Resource (เช่น ค่าปรับ ที่จะเกิดขึ้น อาจมากกว่าเงินต้นที่กิจการต้องชำระ) เหตุการณ์เช่นนี้ก็อาจพิจารณาได้ว่า No practical ability to avoid ด้วยเช่นกัน
.

✅ 2. เป็นการโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ (Transfer of an economic resource) ซึ่งก็คือ มีความเป็นไปได้ (Potential) ที่กิจการต้องให้โอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจให้อีกฝ่าย ซึ่งตามนิยามนี้ ไม่ได้หมายความว่าความเป็นไปได้ดังกล่าวจะต้อง “มีความแน่นอน (Certain) หรือเป็นไปได้ (Likely)” ที่กิจการต้องให้โอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจให้อีกฝ่าย ตัวอย่างภาระผูกพันให้โอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ เช่น ภาระผูกพันให้จ่ายเงินสด ส่งมอบสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
.

✅ 3. เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันที่เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต (Present obligation as a result of past events) ก็ต่อเมื่อกิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหรือกระทำการแล้ว และผลคือกิจการจะหรืออาจต้องโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ
.

หลักๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับนิยามของคำว่าหนี้สินก็ประมาณนี้ครับ

กันยายน 30, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ