พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) ลงราชกิจจาฯ แล้ว

[พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) ลงราชกิจจาฯ แล้ว]

📍 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) ลงราชกิจาฯ แล้ว เมื่อวานนี้ (5 เม.ย. 62)

📍 เพิ่มผลประโยชน์พนักงานหลังออกจากงาน เมื่อทำงานครบ 20 ปี ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 400 วัน (เดิมคือ 300 วัน)

📍 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันลงราชกิจจาฯ (5 เม.ย. 62) หมายความว่า ทุกบริษัทที่ Under / ใช้ กฎหมายฉบับนี้จะต้อง Booking ต้นทุนบริการในอดีต (Past Service Cost) เข้ากำไรขาดทุน (P/L) ทันที ภายใน Q2/2562 (กรณีที่มีผลกระทบ)

📍 การคำนวณผลกระทบต้องดูดีๆนะครับ อย่าเอา 0.33 (เพิ่มขึ้น 100 วัน จากเดิมที่ 300 วัน) คูณหนี้สินผลประโยชน์ฯ ใน Balance Sheet ดุ่ยๆ (ผมเห็น Analyst หลายท่านพยายามทำแบบนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามันไปไกลถึงเรื่องการจัดอันดับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วย 😅) เพราะ

🔹 Probability ของพนักงานที่จะอยู่ถึง 20 ปีอาจน้อยกว่า Probability เดิมที่มีขั้นสูงสุดที่ 10 ปี (ตามกฎหมายฉบับเดิม) (หากคูณ 0.33 ตรงๆ จะได้ค่า Past Service Cost ที่สูงเกินจริง) แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ “อยู่กันยาวๆ” ก็อีกเรื่องนึงนะครับ

🔹 หลายบริษัทมีผลประโยชน์หลังออกจากงานในรูปแบบที่มากกว่ากฎหมายกำหนด เช่น แจกของ แจกทอง แจกเพชร เมื่อพนักงานเกษียณอายุ รวมไปถึงการรักษาพยาบาลเมื่อเกษียณแล้ว โดยรวมไว้ในหนี้สินผลประโยชน์ฯ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ (หากคูณ 0.33 ตรงๆ จะได้ค่า Past Service Cost ที่สูงเกินจริง)

🔹 หลายบริษัทมีผลประโยชน์ระยะยาวอื่น เช่น แจกของ แจกทอง แจกเพชร เมื่อพนักงานทำงานครบจำนวนปีที่กำหนดไว้ โดยรวมไว้ในหนี้สินผลประโยชน์ฯ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ (หากคูณ 0.33 ตรงๆ จะได้ค่า Past Service Cost ที่สูงเกินจริง)

🔹 หลายบริษัทจ่ายค่าชดเชยมากกว่า 300 วันอยู่แล้ว พูดง่ายๆคือจ่ายมากกว่าที่กฎหมายกำหนด (หากคูณ 0.33 ตรงๆ จะได้ค่า Past Service Cost ที่สูงเกินจริง)

🔹 หลายบริษัทมีหนี้สินผลประโยชน์ฯ ที่เกิดจากบริษัทในต่างประเทศ ที่ไม่ได้ใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ของประเทศไทย ซึ่งก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ (หากคูณ 0.33 ตรงๆ จะได้ค่า Past Service Cost ที่สูงเกินจริง)

🔹 หลายบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เช่น AOT (งบการเงินเฉพาะกิจการ) THAI (งบการเงินเฉพาะกิจการ) PTT (งบการเงินเฉพาะกิจการ) ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ดังนั้นก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าจะมีผลกระทบใน Q2/2562 ทันที (และคูณ 0.33 เป็นตุเป็นตะกันใหญ่โต) เพราะบริษัทเหล่านี้จะมีกฎหมายแรงงานเฉพาะของเค้า ก็คือ พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งยังไม่ได้ออก Package ใหม่ ณ ตอนนี้ อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่นี้ก็ยังคงมีผลกระทบต่อบริษัทย่อยของบริษัทเหล่านี้ (เพราะ บ.ย่อยเหล่านี้ไม่อยู่ Under พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)

📍 หากอยากทราบผลกระทบ ดูจาก Note งบการเงินล่าสุดที่หลายๆบริษัทได้เปิดเผยไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว

📍 ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่าการบันทึก Past Service Cost ในครั้งนี้ (ณ งวดที่บันทึก) ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ในภาพรวมยังไม่ถือเป็น Cash outflow ทันที แต่เงินจะออกก็โน่น…เมื่อพนักงานเกษียณนะครับ

Link File พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) ที่ลงราชกิจจาฯ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/2562/A/043/T_0021.PDF

เมษายน 6, 2019
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ