อ่านข่าวให้เป็น : MBK ขาย ROH กำไรควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ – บทสรุป (ว่าควรเชื่องบฯ มากกว่าเชื่อข่าว และประเด็นเกี่ยวกับ Deferred Tax)

[อ่านข่าวให้เป็น : MBK ขาย ROH กำไรควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ – บทสรุป (ว่าควรเชื่องบฯ มากกว่าเชื่อข่าว และประเด็นเกี่ยวกับ Deferred Tax)]

เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา MBK ขายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน ROH (บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) คิดเป็น 29.86 % ให้กับ GRAND (บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 มูลค่าประมาณ 1,145 ล้านบาท

Deal นี้เอง แอดได้เคยเขียน Post “อ่านข่าวให้เป็น : MBK ขาย ROH กำไรควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่” ไว้แล้วตาม Link ด้านล่าง เพื่อบอกว่า จริงๆแล้วการคำนวณกำไรจาก Deal นี้ควรจะใช้ Concept แบบ “งบ Level ใคร Level มัน” ซึ่งแตกต่างจากที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับรวมทั้งบทวิเคราะห์บางแห่งที่ไม่ได้ใช้ Concept นี้ในการประมาณการกำไรครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=231507914121691&id=212447799361036

และ ณ ขณะนี้ MBK ได้ประกาศงบการเงิน Q3/2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา ดังนั้นเรามาดูกันครับว่า Concept แบบ “งบ Level ใคร Level มัน” ที่ตามแอดเคยนำเสนอ จะสามารถใช้ประมาณกำไรได้จริงหรือไม่ครับ

ขอทบทวนรายละเอียดของ Deal นี้ก่อนนะครับ เรื่องก็คือ MBK-HR ที่เป็นบริษัทย่อยของ MBK (MBK ถือ 99.99%) ขายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน ROH 29.86% ให้กับ GRAND โดยมีมูลค่าขายรวมสุทธิ 1,145 ล้านบาท โดย ROH เป็นบริษัทร่วมของ MBK-HR อีกทีนึงครับ

🔺 สำหรับค่ายทันหุ้น ได้เคยให้ข่าวไว้ว่าจะมีกำไรจาก Deal นี้ที่ 330 ล้านบาท

🔺 ค่ายข่าวหุ้นประมาณว่าจะมีกำไรจาก Deal นี้ที่ 240 ล้านบาท

🔺 นอกจากนี้ล่าสุดก่อนงบ Q3 ประกาศ บทวิเคราะห์ของ KGI ประมาณว่าจะมีกำไรจาก Deal นี้ที่ 333 ล้านบาท

🔺 ในขณะที่แอดได้เคยประมาณไว้ว่าจะมีกำไร “ก่อนภาษี” ที่ 706.47 ล้านบาทครับ

(ส่วนกำไรหลังภาษี 624 ล้านบาทนั้น ยังไม่รวมประเด็นเรื่องภาษีเงินได้รอตัดบัญชีหรือ Deferred Tax เนื่องจากที่ได้เคย Note ไว้ใน Post ก่อนหน้านี้ว่า งบการเงินปี MBK มีการตั้ง Deferred Tax ที่เกิดจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมด้วย แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดรายบริษัท เบื้องต้น ณ วันนั้นจึงไม่ได้เอามาคิดผลกระทบในการคำนวณครับ)

*สำหรับที่มาของตัวเลขกำไรแต่ละวิธี สามารถดู ตาม Link ของ Post ก่อนหน้าได้เลยครับ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=231507914121691&id=212447799361036

เมื่อ งบ Q3/2561 ประกาศ ในงบการเงิน MBK ระบุว่ามี “ผลกำไรจากการขายเงินลงทุนจำนวน 700.50 ล้านบาท” นอกจากนี้ใน MD&A ก็ระบุเพิ่มเติมว่า “มีการรับรู้กำไรจากการขายเงินลงทุนเป็นจำนวน 701 ล้านบาท (571 ล้านบาท เป็นยอดสุทธิจากภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้อง)”

เราจะมาคำนวณกันเป็นส่วนๆว่า กำไรก่อนภาษี 700.50 ล้านบาท สามารถประมาณการได้อย่างตรงเป๊ะๆ ก่อนงบการเงินจะออกได้อย่างไร รวมไปถึงประเด็นทางภาษีอีก 130 ล้านบาท (701 – 571) กันครับ

กำไรก่อนภาษี 700.50 ล้านบาท

ตาม Concept ที่แอดเคยให้ไว้ใน Post ก่อน ว่าในการคำนวณกำไรขาดทุนต่องบ MBK สิ่งที่เราจะต้องตั้งสติก่อนสตาร์ทคือ เรากำลังจะมองใครกันแน่ แน่นอนครับ เรากำลังมอง MBK ตัวบนสุด ดังนั้น เราจะต้อง Focus งบการเงิน “รวม” ที่ Level MBK นะครับ ไม่ใช่ที่งบเดี่ยว MBK-HR (ที่ นสพ. หลายฉบับ Focus กัน จึงไปเอาตัวเลข 731.90 มาใช้)

ดังนั้นจึงควรเทียบ คือ ราคาขาย กับ ต้นทุนเงินลงทุน ROH ที่อยู่ในงบ “รวม” ของ MBK ครับ

ตามรูปคือเทียบ 1,144.84 ล้านบาท (ราคาขาย) กับ 444.34 ล้านบาท (ต้นทุนเงินลงทุน ROH ที่อยู่ในงบรวมของ MBK) จะได้กำไร 700.50 ล้านบาท … อันนี้เป็นกำไรก่อนภาษีนะครับ ….เห็นไหมครับตรงกับตัวเลขจริงที่ประกาศในอีกหลายเดือนถัดมา

*เดิมที่เคยแอดเคยประมาณไว้ที่ 706.47 เพราะใช้ข้อมูลที่มี ณ วันนั้น คือตัวเลขเงินลงทุนจากงบ Q1 ที่ 438.37 ล้านบาท แต่เมื่องบ Q2 ออกในเดือน 8 ก็ควร Update เป็น 444.34 ล้านบาทครับ

*สามารถใช้ตัวเลข 444.34 @ 30/06/2561 ประมาณได้ เพราะขายจริงวันที่ 02/07/2561 ซึ่งสองวันนี้ (30/06 และ 01/07) ตรงกับเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งโดยปกติไม่น่าจะมี Major Transaction ที่ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเปลี่ยนไปมากนัก

ในส่วนของภาษีอีก 130 ล้านบาท

เดิมแอดได้เคยประมาณการภาษีของ Deal นี้โดยคิดว่า ภาษีที่ MBK-HR จะต้องเสียให้สรรพากร จะเท่ากับ (ราคาขาย – เงินลงทุนใน ROH @ Cost ในงบเดี่ยว MBK-HR) x 20% = (1,144.84 – 731.90) x 20% = 412.94 x 20% = 82.59 ล้านบาท (องค์ประกอบที่ 1)

แต่ตัวเลขดังกล่าวต่างจาก Actual ที่ 130 ล้านบาทมากอยู่ครับ แอดเลยลองหาคำอธิบาย “ที่พอจะเป็นไปได้” เลยคิดถึงเมื่อ Post แรก ที่แอดได้ Note ไว้ว่า…จริงๆงบการเงิน MBK มีการตั้ง Deferred Tax ที่เกิดจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมด้วย แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดรายบริษัท จึงไม่ได้เอามาคิดผลกระทบในการคำนวณ ณ ตอนนั้น

หากคิดถึงผลกระทบจาก Deferred Tax ด้วยจะได้ว่า (องค์ประกอบที่ 2) ณ 30/06/2561 MBK ควรจะมีการตั้ง Deferred Tax Asset ในงบการเงินรวมด้วยผลต่างระหว่างมูลค่าทางภาษี กับมูลค่าตามบัญชี แล้วจึงคูณด้วยอัตราภาษี นั่นก็คือ (731.90 – 444.34) x 20 % = 57.51 ล้านบาท

เมื่อขายเงินลงทุนตัวนี้ทิ้ง บริษัทก็จะต้องล้าง Deferred Tax Asset และรับรู้ “ค่าใช้จ่าย”ภาษีเงินได้ เพิ่มเติมอีก 57.51 ล้านบาท

ดังนั้นภาษีเงินได้ของ Deal นี้ทั้งหมดตาม Public Information ที่มี = 82.59 ล้านบาท (องค์ประกอบที่ 1) + 57.51 ล้านบาท (องค์ประกอบที่ 2) = 140.1 ล้านบาท นั่นเองครับ
(Diff กับ Actual นิดหน่อยที่ 10.1 ล้านบาท…แต่แอดจนปัญญาจะหาละครับ 555 เอาเป็นว่าตัวเลขไม่ Material ละกันเนอะ)

หากประมาณอย่างถูกหลักการ และพยายาม update ตัวเลขตามงบจริงที่ประกาศ จะได้กำไรหลังภาษีที่ 560.4 ล้านบาท (Diff กับตัวเลขจริงประมาณ 10 ล้านบาทจากเรื่องภาษี)

ในขณะที่ข่าวตามหนังสือพิมพ์หรือแม้แต่บทวิเคราะห์ กำไรหลังภาษีจะอยู่ที่ 240 – 333 ล้านบาท …แตกต่างกับ Actual ที่ 571 ล้านบาท เกือบเท่าตัวเลยครับ

ดังนั้นสิ่งที่อยากจะฝากจาก Case นี้คงไม่พ้น 3 เรื่องครับ

1. อย่าเพิ่งเชื่อข่าว หรือแม้ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์ของ Analyst เองก็ตาม จนกว่าจะได้ลองเปิดงบการเงินและลองคำนวณด้วยตัวเอง รวมทั้ง อย่าลืม Concept “งบ Level ใคร Level มัน” …อย่าเอาต้นทุนของงบเดี่ยวมาคำนวณกำไรที่จะเกิดขึ้นในงบรวมนะครับ

2. เมื่อมีการขายของเกิดขึ้นอย่าลืมคำนึงถึงผลกระทบที่เกี่ยวกับภาษีด้วย อย่าคิดเพียงแค่เอาราคาขาย – ต้นทุน

3. แน่นอนว่ากำไรก้อนนี้เป็น Non-recurring item ที่ไม่ควรนำมาประมาณการกำไรในอนาคตนะครับ (เรียกว่าดีใจได้ แต่ต้องรู้ว่าแค่งวดนี้เท่านั้น)

Post ตอนก่อน : “อ่านข่าวให้เป็น : MBK ขาย ROH กำไรควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่

พฤศจิกายน 26, 2018
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ