กว่าครึ่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งค่าเผื่อฯ ลูกหนี้โดยไม่ใช้ Forward-looking information

[กว่าครึ่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งค่าเผื่อฯ ลูกหนี้โดยไม่ใช้ Forward-looking information]

สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดความไม่แน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประมาณการต่าง ๆ ทางบัญชี ทำให้หน่วยงานกำกับดูแล ได้ออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนในการวัดมูลค่ารายการต่าง ๆ ในงบการเงิน สำหรับประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชี ฯ ได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 16/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติทางการบัญชี เรื่อง มาตรการผ่อนปรนชั่วคราวสำหรับทางเลือกเพิ่มเติมทางบัญชีเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2563 เป็นต้นมา โดยมีการผ่อนปรนการวัดมูลค่ารายการทางบัญชีในหลายประเด็นซึ่งรวมถึงเรื่อง การวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss : ECL) หรือหากเทียบเคียงกับภาษาที่นิยมเรียกกันมาแต่ดั้งเดิมก็คือ “ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ” นั่นเอง

มูลเหตุที่สำคัญเนื่องจาก มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) กำหนดวิธีการคำนวณ Expected Credit Loss : ECL ไว้ โดยส่วนหนึ่งระบุว่า การคำนวณ ECL นั้นจะต้องสะท้อนเหตุการณ์ในอดีต สภาพการณ์ปัจจุบัน และ “การพยากรณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต”

ประเด็นสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ COVID-19 จะอยู่ที่ “การพยากรณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต” นั้นจะมีความไม่แน่นอนสูงมาก และอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการคำนวณ ECL คิดง่ายๆแค่บริษัทมองว่าอีก 3 เดือนเหตุการณ์จะคลี่คลาย แต่ Audit มองว่าอีก 6 เดือน ก็ยุ่งแล้วครับ นี่ยังไม่นับว่า 3 กับ 6 เดือนนั้นต้องมีข้อมูล Support อีก

ดังนั้นข้อผ่อนปรนฯ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฯ จึงพยามแก้ปัญหาในทางปฏิบัติในเรื่องนี้ โดยระบุว่าหากกิจการเลือกใช้วิธีการอย่างง่าย (Simplified Approach) ในการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจการสามารถเลือกที่จะ

✅ ไม่ต้องนำข้อมูลที่มีการคาดการณ์ไปในอนาคต (Forward-looking information) มาใช้ในการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

✅และสามารถใช้ข้อมูลผลขาดทุนด้านเครดิตในอดีต (Historical credit loss) หรือวิธีอื่นที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันประกอบกับดุลยพินิจของผู้บริหารในการประมาณการผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่มี และหาได้โดยไม่ใช้ความพยายามหรือต้นทุนที่สูงเกินไปมาใช้ในการตั้งสำรอง

โดยรายการในงบการเงินที่จะสามารถใช้ข้อผ่อนปรนข้อนี้ได้ (ไม่ใช้ Forward-looking information ในการตั้งสำรอง) ก็คือรายการที่บริษัทวัดค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตด้วย “วิธีอย่างง่าย (Simplified Approach)” ซึ่งได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่ไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาที่ไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีรายการที่สามารถใช้ข้อผ่อนปรนข้อนี้ได้ หากบริษัท “เลือกใช้ Simplified Approach” กับรายการต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาที่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญ และลูกหนี้ตามสัญญาเช่า

ภายหลังจากที่แนวปฏิบัติทางการบัญชีฯ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว มีข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจข้อมูลตามหนังสือวิเคราะห์การใช้ข้อผ่อนปรนทางบัญชี COVID-19 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Q1/2563 ซึ่งพบว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์กว่า 53% ใช้ข้อผ่อนปรนข้อนี้ จึงแปลความได้ว่า กว่าครึ่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์พบปัญหาในการใช้ Forward-looking information ในการประมาณค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตด้วยวิธีอย่างง่าย ตาม TFRS 9 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 จนทำให้บริษัทเลือกใช้ข้อผ่อนปรน โดยเลือกที่จะไม่นำข้อมูลที่มีการคาดการณ์ไปในอนาคต (Forward-looking information) มาใช้ในการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ บริษัทขนาดเล็กมีสัดส่วนการใช้ข้อผ่อนปรนข้อนี้มากว่าบริษัทขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่าในยามที่เกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอนสูงอย่าง COVID-19 ที่กำลังเกิดขึ้น การประมาณค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตด้วยวิธีอย่างง่ายตาม TFRS 9 นั้น เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในบริษัทขนาดเล็กมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่

หาก Scope เฉพาะวิธีการบันทึกบัญชีในเรื่องนี้เฉพาะบริษัทในประเทศไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็สรุปได้ระดับนึงว่า บริษัทจำนวนครึ่งหนึ่งของตลาดฯ บันทึกบัญชีค่าเผื่อฯ โดยใช้หลักการตาม TFRS 9 ตามปกติ (รวม Forward-looking information) อีกครึ่งหนึ่งได้ตัด Forward-looking information ในการประมาณการค่าเผื่อฯ และแน่นอนครับเราคงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่างบการเงินที่อยู่ในตลาดฯ จัดทำบนหลักการเดียวกันในช่วงเวลาเช่นนี้

แล้วประเด็นนี้ในต่างประเทศจะมีความแตกต่างในหลักการด้วยหรือไม่ ? หากเรามองไปที่ IFRS ว่ามีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร มีการออกข้อผ่อนปรนสำหรับเรื่อง ECL เป็นพิเศษในช่วง COVID-19 เหมือนเรื่องสัญญาเช่า ที่แอดเคยเล่าให้ฟังใน Post ที่แล้วหรือไม่ ?

IFRS ได้ออก Educational materials on the application of IFRS 9 Financial Instruments ในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย IFRS ยอมรับว่าการรวมผลกระทบจาก COVID-19 และ Government Support ในการวัดมูลค่า ECL เป็นเรื่องยาก แต่สุดท้ายแล้วก็ยังคงเน้นย้ำว่าว่าหลักการ ECL ตาม IFRS 9 นั้นยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้ใช้งบการเงินอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสำหรับการตั้ง Expected Credit Loss นั้น ยังไม่ได้มีข้อผ่อนปรนใดๆ ออกมาจาก IFRS นั่นเองครับ

อย่างไรก็ดี IFRS ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ว่าในปัจจุบัน Prudential and securities regulators ต่างๆ เช่น European Banking Authority, the European Central Bank, the European Securities and Market Authority, the Prudential Regulation Authority and the Malaysian Accounting Standards Board ต่างก็เริ่มให้แนวปฏิบัติ (guidance) ในการใช้ IFRS 9 ในสถานการณ์ COVID-19 ในเรื่องนี้กันแล้ว โดย IFRS เองก็สนับสนุนให้บริษัทลองพิจารณาการใช้แนวปฏิบัติตามที่ Regulators ได้กำหนดออกมาครับ บาง Regulator ก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องรวม Forward-looking information เหมือนอย่างประเทศไทย เพียงแต่ระบุแนวทางการใช้ Judgement ในเรื่องดังกล่าวเพื่อ “ดึงสติ” การมองหรือการคำนวณ Forward-looking information ในกรณีที่เกิดความไม่แน่นอนของ COVID-19 ดังเช่น กรณีของ Malaysian Accounting Standards Board ที่ได้ออก MFRS 9 Financial Instruments: Expected Credit Loss Considerations ซึ่งมีตัวอย่างข้อความบางส่วนที่น่าสนใจ เช่น

✅ In view of the unprecedented speed with which events have been unfolding amidst the COVID-19 outbreak, in determining whether they have sufficient reasonable and supportable information to make forecasts of future economic conditions, reporting entities need to make a judgement 📍 based on the information on-hand 📍 , which is believed to be 📍 still limited 📍under the current unprecedented circumstances.

✅ Reporting entities are reminded that they are required to incorporate forecasts of future conditions over the entire remaining expected life of a financial instrument 📍only to the extent of the availability of supportable information 📍 in estimating lifetime expected credit losses.

สุดท้ายนี้หากแฟนเพจท่านใดต้องการศึกษาข้อมูลการใช้ข้อผ่อนปรนที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ซึ่งรวบรวมข้อมูลจริงกว่า 700 บริษัทในช่วง Q1/2563 ที่ผ่านมา สามารถดูรายละเอียดหนังสือตาม Link ด้านล่างได้เลยครับ

https://www.facebook.com/212447799361036/posts/626164934655985/

กรกฎาคม 3, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ