[IFRS 15 – Transition บริษัทยักษ์ใหญ่]
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยก็ได้บังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ไปเป็นที่เรียบร้อย และกลุ่มมาตรฐานฯ เรื่อง รายได้ ฉบับเดิม ที่นำโดย TAS 18 ก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเช่นกัน
ในต่างประเทศได้ใช้ IFRS 15 ไปก่อนประเทศไทยล่วงหน้าไปแล้วตั้งแต่ปี 2561
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น TFRS 15 หรือ IFRS 15 ต่างก็วางการปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (Transition) ไว้ 2 แนวทางใหญ่ๆ คือ
🔹Retrospective Approach ก็คือการ Restate งบการเงินย้อนหลังตามปกติ
🔹Modified Retrospective Approach คือ การปรับปรุงกำไรสะสม ณ ต้นงวดแรกที่นำ TFRS 15 มาใช้ ด้วยจำนวนผลกระทบประหนึ่งว่าใช้มาตรฐานฯ ฉบับนี้มาตลอด (ไม่ปรับปรุงงบการเงินงวดที่แล้ว)
สำหรับนี้ตอนนี้ เราจะมาสำรวจกันครับว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างประเทศได้เลือก Transition แบบไหนกันบ้าง และผลกระทบในภาพรวมเมื่อเทียบกับ Total Equity จะเป็นอย่างไร
📍 มีทั้งที่เลือก Retrospective Approach และ Modified Retrospective Approach
📍 บริษัททั้งหมดที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ได้รับผลกระทบจาก IFRS 15 น้อยมากเมื่อเทียบกับ Total Equity
📍 อย่างไรก็ดี มีผลกระทบในเชิงรายละเอียดมากกว่า หากดูรายละเอียดจริงๆ จะเห็นการ ปรับตัวเลขในหลายบรรทัด แต่เมื่อ Net กันแล้วแทบไม่มีผลกระทบต่อ Total Equity
📍 Nestle สามารถระบุได้เลยว่ามียอดขายน้อยกว่า 0.5% ที่จะต้องรับรู้รายได้ช้ากว่า 2 วันบน IFRS 15 เมื่อเทียบกับมาตรฐานฉบับเดิม (IAS 18)
📍 ขณะที่ Unilever ประกาศชัดเจนว่าไม่มีผลกระทบจาก IFRS 15 เนื่องจากนโยบายบัญชีที่ใช้มาตลอดนั้น สอดคล้องกับข้อกำหนดของ IFRS 15 อยู่แล้ว
📍 เงินที่จ่ายให้ลูกค้าเพื่อเป็นแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้า หลายบริษัท เช่น Nestle หรือ Volkswagen ระบุว่า เดิม Treat เป็น Distribution Expense แต่เมื่อต้องปฏิบัติตาม IFRS 15 เงินดังกล่าวต้องนำไป Net กับยอดขายแทน