ร่าง TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุงใหม่ (คาดว่าจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566) ปรับปรุงอะไรบ้าง ?

[ร่าง TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุงใหม่ (คาดว่าจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566) ปรับปรุงอะไรบ้าง ?]

หลายท่านบอกว่าที่ผ่านมา Page Accounting Analysis มักจะพูดถึงแต่เรื่องมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (หรือมาตรฐานฯ ชุดใหญ่)
.

วันนี้แอดก็เลยขอเปลี่ยน Mood มา Update ความคืบหน้าของฝั่ง มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ TFRS for NPAEs กันบ้างครับ
.

หลายท่านอาจจะพอเคยได้ยินกันว่า TFRS for NPAEs จะมีการปรับปรุงข้อกำหนดในหลายๆ ประเด็น เพื่อให้มีความทันยุคทันสมัย เหมาะสมกับธุรกิจมากขึ้น (เพราะ TFRS for NPAEs ที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2554)
.

ซึ่ง ณ ตอนนี้ (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุง ก็ได้ปรากฏโฉมออกมาแล้ว เพื่อให้พวกเราได้ศึกษาล่วงหน้าก่อนที่จะมี “สัมมนาพิจารณ์ (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุงเพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมมากขึ้น” ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2565 ที่จะถึงนี้
.

ส่วน Timeline ในการบังคับใช้นั้นก็ “คาดว่า” จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
.

ปรับปรุงอะไรบ้าง ?
.

เนื้อหาใน (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุง ก็ได้ระบุไว้ว่า หลักสำคัญของการปรับปรุงครั้งนี้ มีอยู่ 3 ประเด็นครับ
.

🟢 1. “ทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น” โดย “เพิ่มวิธีปฏิบัติทางบัญชี” สำหรับธุรกรรมต่างๆ เช่น
– เกษตรกรรม
– อนุพันธ์
– การรวมธุรกิจ
– เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
– การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่
– ข้อตกลงสัมปทานบริการ
.

🟢 2. “คงความง่ายในทางปฏิบัติ” กล่าวคือ “คง” วิธีปฏิบัติทางบัญชีที่ใช้อยู่เดิมไว้เพื่อกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะเดิมไม่ถูกกระทบ รวมถึง “รวบรวมประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบันเข้ามารวมไว้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ เช่น
– การจัดทำงบการเงินระหว่างกาล
– การตีราคาใหม่ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
– การวัดมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และ
.

🟢 3. “เพิ่มทางเลือกในวิธีปฏิบัติทางบัญชี” เช่น
– การจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
– การจัดทำงบการเงินรวม
– ทางเลือกในการกำหนดสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานที่ไม่ใช่สกุลเงินบาท
.

เรามาดูตัวอย่างข้อกำหนดใหม่ๆ ใน (ร่าง) TFRS for NPAEs กันครับ เช่น กรณีของ “อนุพันธ์ (Derivative)” ซึ่งในปัจจุบันก็อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ NPAEs ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นกว่าอดีต
.

(ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุง นี้ก็ให้ทางเลือกกับกิจการครับ โดยต้องเลือกถือปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
.

🟢 1. เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับรายการอนุพันธ์คงเหลือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยกิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินตามสัญญา และมูลค่ายุติธรรมของสัญญา พร้อมทั้งสนับสนุนแต่ไม่ได้บังคับให้เปิดเผยถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและการจัดการความเสี่ยงของกิจการเพิ่มเติม หรือ
.

🟢 2. รับรู้รายการสำหรับรายการอนุพันธ์ด้วย “วิธีการคงค้างอย่างง่าย” รวมถึงเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1. หรือ
.

🟢 3. รับรู้มูลค่าเริ่มแรกของตราสารอนุพันธ์ด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ทำสัญญา และวัดมูลค่าในภายหลังด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยรับรู้กำไร (ขาดทุน) จากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในภายหลังในงบกำไรขาดทุน รวมถึงเปิดเผยจำนวนของกำไร (ขาดทุน) จากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ามูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ที่รับรู้ในระหว่างงวดและตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1. หรือ
.

🟢 4. รับรู้รายการโดยใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยถือปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีป้องกันความเสี่ยงในมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน
.

และคงต้อง Remark ตัวโตๆ ไว้ว่า
.

1. (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุง เป็นเพียงร่างแรกเท่านั้น และอยู่ระหว่างการนำเสนอในคณะกรรมการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง
.

2. ส่วนที่ไฮไลต์สีเหลืองของ (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุงคือส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับให้มีความเหมาะสม (ทั้งนี้ไม่รวมถึงส่วนที่มีการตัดออก) จากฉบับปี 2554
.

3. ใช้สำหรับการสัมมนาพิจารณ์สำหรับวันที่ 27 เมษายน 2565 นี้เท่านั้น
.

อ่านได้จากไหน ?
.

ตาม Link ของ สภาฯ เลยครับ > https://www.tfac.or.th/upload/9414/bHk1e08Rnq.pdf
.

แล้วก็อย่าลืมเข้ารับฟัง “สัมมนาพิจารณ์ (ร่าง) TFRS for NPAEs ปรับปรุงเพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมมากขึ้น” ตาม Link ของ สภาฯ ครับ

==================================
📣 Accounting Analysis มี Course อบรมเก็บชั่วโมง CPD (ด้านบัญชี) แบบ E-Learning :
🔥 การบัญชีสำหรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currencies) : ข้อกำหนด และข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 🔥
👉 เงื่อนไขดูรายละเอียดคอร์ส -> คลิกที่นี่
==================================

เมษายน 22, 2022
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ