Shell ตั้ง Impairment 7 แสนล้าน !!!

[Shell ตั้ง Impairment 7 แสนล้าน !!!]

งบการเงิน Q2/2020 ของ Shell ที่ประกาศเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บริษัทได้ตั้ง Impairment (การด้อยค่าของสินทรัพย์) ไปกว่า 22,332 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 7 แสนล้านบาท จนทำให้ Shell มีผลขาดทุนในไตรมาสนี้ถึง 18,131 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 6 แสนล้านบาท

📍 การตั้ง Impairment ในครั้งนี้ Shell ระบุว่าเกิดจากการปรับ Assumption ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Price) และส่วนต่างค่าการกลั่น (Refining Margin) ทั้งในระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้สะท้อนถึงผลกระทบจาก COVID-19 เศรษฐกิจมหภาค รวมถึงสะท้อนสภาพตลาดของอุตสาหกรรมพลังงาน

📍 ยอด Impairment 22,332 ล้านเหรียญสหรัฐ หากดูตามรูปงบการเงิน ยอดดังกล่าวจะแฝงอยู่ในทั้งบรรทัด “depreciation, depletion and amortization” และ “share of profit of joint ventures and associates”

📍 สินทรัพย์ที่ด้อยค่ากระจายตัวอยู่ในหลาย Segment เช่น
Integrated Gas Segment : Integrated Gas asset and Prelude floating LNG ใน Australia
Upstream Segment : แหล่ง Unconventional ใน Nigeria รวมไปถึงแหล่ง Offshore อีกหลายแหล่งใน Brazil และยุโรป
Oil Products Segment: โรงกลั่นน้ำมันทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ

📍 สิ่งที่น่าสนใจคือ Shell เปิดเผยว่าในไตรมาส 2/2020 นี้ Shell ได้ “ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์” ไปกว่า 50% ของสินทรัพย์ประเภท PPE เงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทรวม และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งแปลว่าด้วยสถานการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เกิด Impairment Indication (ข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า) กับ Fixed Assets กว่าครึ่งหนึ่งของ Core Assets ของบริษัท

📍 ในด้าน Assumptions บริษัทได้ใช้ Assumptions ราคาต่างๆ ตามตารางด้านล่างของรูป โดย Long-term price assumption สำหรับน้ำมันดิบ Brent ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป อยู่ที่ 60 USD/BBL (ใครจะหวังให้ราคาน้ำมันขึ้นไปมากกว่านี้โปรดดูราคาที่ Expert เค้าใช้ก่อนนะครับ ประมาณนี้นะ ณ เวลานี้)

📍 คำถามต่อมาคือ หากราคา Brent ไม่เป็นไปตามที่คาด บริษัทจะต้องต้อง Impairment เพิ่มอีกเท่าไหร่ ซึ่ง Shell ก็ได้เปิดเผยSensitivity Analysis ต่อไปว่า หากราคา Brent ลดลงมาอยู่ที่ 55 USD/BBL โดยที่ปัจจัยอื่นๆคงที่ บริษัทจะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายการด้อยค่าของสินทรัพย์เพิ่มเติมอีก 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 2 แสนล้านบาท (สำหรับ 5 เหรียญ/BBL ที่ลดลง)

📍 นอกจากนี้สิ่งที่ผมคิดว่าเป็น Highlight ของการประมาณส่วนต่างค่าการกลั่น (Refining Margin) นับจากวันนี้เป็นต้นไป ที่ Shell ได้ใช้ในการทำ Impairment ในรอบนี้ก็คือ เดิมจนถึงปี 2019 Shell จะใช้วิธีการที่เรียกว่า “the reversion to mean methodology” ในการประมาณส่วนต่างค่าการกลั่น (Refining Margin) ในระยะยาว โดยหลักการก็คือส่วนต่างค่าการกลั่นจะกลับเข้าสู่ historical averages อยู่เสมอ (หากไม่ได้มี Fundamental Shift)

📍 ในขณะที่วิธีการที่ใช้สำหรับปี Q2/2020 เป็นต้นไป Shell ไม่ได้ใช้ the reversion to mean methodology แล้วนะครับ แต่ไปใช้วิธีการอื่นแทน โดยคำนึงถึง Fundamentals ของอุตสาหกรรมในระยะสั้น และคำนึงถึงพวก Industry Rationalisation และ Energy Transition ในระยะยาว

📍 สิ่งที่น่าตกใจคือการเปลี่ยนวิธีการคิดครั้งนี้ทำให้ average long-term refining margins ลดลงถึง 30% เมื่อเทียบกับวิธีการเดิมเลยทีเดียว

📍 Assumptions มีผลมากๆนะครับ ในทุกๆ เรื่องของตัวเลขในงบการเงินโดยเฉพาะเรื่อง Impairment

(เช่นเดียวกับที่ แอดเล่าในตอนก่อนหน้า เรื่อง EFORL ซื้อ วุฒิศักดิ์ กับ Goodwill ที่หายวับภายใน 4 ปี กับคำถามน่าคิด : หากย้อนเวลากลับไปได้ ควรจะซื้อวุฒิศักดิ์กี่บาท ?)

เอามาเล่าให้ฟังพอหอมปากหอมคอ … ปีนี้จะได้เห็นอะไรอีกเยอะครับ

สิงหาคม 3, 2020
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ