คำถาม – คำตอบ เรื่อง การจัดประเภทรายการหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุนภายใต้ TAS 32

[คำถาม – คำตอบ เรื่อง การจัดประเภทรายการหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุนภายใต้ TAS 32]

ประเด็นหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน
– บางบริษัทจัดประเภทเป็นทุน
– บางบริษัทจัดประเภทเป็นหนี้ (หุ้นกู้)
– และก็มีอีกหลายบริษัทจัดประเภทเป็นทุน (มาตั้งแต่อดีต) แต่ข้อกำหนดในปัจจุบันของ TAS 32 (ที่เพิ่งเริ่มใช้ปี 2563) ให้จัดเป็นหนี้สิน จึงได้เลือกใช้แนวทางตามที่กำหนดไว้ในประกาศสภาวิชาชีพบัญชี เรื่อง การปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมสำหรับการจัดประเภทรายการของหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน ที่ยอมให้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงิน ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
.
ประเด็นสำคัญของการพิจารณาว่าเป็นทุนหรือหนี้ เคยเป็นประเด็นร้อนกันอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่ TAS 32 จะมีผลบังคับใช้
.
“คำถาม – คำตอบ เรื่อง การจัดประเภทรายการหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุนภายใต้ TAS 32” ที่จัดทำโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี จึงได้อธิบายหลักการพิจารณาข้อกำหนดสิทธิฯ ซึ่งจะส่งผลว่าผู้ออกตราสารต้องจะมองตราสารที่ออกว่าเป็น “หนี้” หรือมองเป็น “ทุน” ไว้ดังนี้ครับ
.
✅ มองเป็นหนี้ : “หากในข้อกำหนดสิทธิ (สัญญา) มีการระบุถ้อยคำที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันตามสัญญาซึ่งพิจารณาได้ว่า ผู้ออกอาจต้องชำระภาระผูกพันก่อนการชำระบัญชี ผู้ออกจะต้องจัดประเภทตราสารดังกล่าวเป็นหนี้สินทางการเงิน”
.
✅ ไม่มองเป็นหนี้ : “อย่างไรก็ดี กรณีที่ผู้ออกอาจต้องชำระภาระผูกพันก่อนการชำระบัญชีอันเนื่องมาจากข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น แผนฟื้นฟูกิจการอาจทำให้มีการชำระภาระผูกพันก่อนการชำระบัญชี แต่มิได้มีถ้อยคำที่ระบุในข้อกำหนดสิทธิของตราสาร หนี้สินที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดทางกฎหมายดังกล่าวซึ่งไม่ได้ผูกพันตามสัญญาไม่ถือเป็นหนี้สินทางการเงินภายใต้ TAS 32”
.
นอกจากนี้แล้ว คำถาม – คำตอบ ฉบับนี้ ก็ระบุถึงประเด็นการเปิดเผยข้อมูลไว้ว่า
.
“กิจการจะต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรรวมถึงเงื่อนไขของตราสารดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจัดประเภทรายการ ของกิจการ เช่น เงื่อนไขของตราสารที่ระบุถึงการจ่ายชำระที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ออกตราสารเข้าฟื้นฟูกิจการ (ซึ่งถือเป็นหนี้สินทางการเงิน) เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนที่กิจการใช้พิจารณาในการจัดประเภทรายการ”
.
ในประเด็นการเปิดเผยข้อมูล แอดคิดว่ามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินมากเลยทีเดียว เพราะเท่าที่ดูงบการเงินของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน มักจะไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลเงื่อนไขสำคัญของตราสาร ที่ใช้ Support ว่าเป็นหนี้หรือเป็นทุนนั่นเองครับ
.
นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ว่า “คำถาม-คำตอบนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการปรับปรุง TAS 32 ในอนาคต โดยในขณะนี้ IASB อยู่ระหว่างการปรับปรุงเงื่อนไขในการจัดประเภท หนี้สินทางการเงินและทุน”
.
ไม่แน่ว่าประเด็นหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน (ที่วันนี้เป็น “ทุน” ตาม TAS 32 ฉบับปัจจุบัน) อาจกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้งในอนาคต
.
Source : https://www.tfac.or.th/upload/9414/IDcnPFwOTW.pdf

มีนาคม 19, 2021
© 2022 Accounting-Analysis.com All rights reserved.
0
    0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่าย้อนกลับ